ตำบล
โคกเคียน อำเภอ เมือง
จังหวัดนราธิวาส
ประวัติตำบลโคกเคียน
ในอดีตพื้นที่ตำบลโคกเคียนเป็นที่ราบ
มีบางส่วนเป็นเนินเขา มีชาวมลายูได้เดินทางมาขึ้นฝั่งชายทะเล
และได้นำเอาต้นตะเคียนมาปลูกตามเนินเขา ซึ่งเนินเขาชาวบ้านเรียกกันว่า"โคก"
และได้ตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน ต่อมาจึงเรียกชื่อว่า "โคกเคียน"
ประวัติหมู่บ้านตำบลโคกเคียน
หมู่ที่
|
ชื่อบ้าน
|
ความหมาย
|
ประวัติ
|
1.
|
บ้านโคกเคียน
|
บ้านโคกเคียน
ส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีต้นตะเคียนจำนวนมาก
|
จัดตั้งประมาณ
100 กว่าปีมาแล้ว
เป็นหมู่บ้านแรกของโคกเคียน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีต้นตะเคียนมาก
จัดตั้งชื่อโคกเคียน
|
2.
|
บ้านโคกพะยอม
|
พะยอมเป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งดอกมีกลิ่นหอม
สีเหลือง จัดอยู่ในกลุ่มต้นตะเคียน
|
หมู่บ้านนี้แยกมาจากบ้านบาเก๊ะของหมู่
1 ตำบลโคกเคียนแต่เดิมมีต้นพะยอมมาก จึงตั้งชื่อว่าบ้านโคกพะยอม
เป็นที่ราบสูง ส่วนใหญ่เป็นชาวมุลิม
|
3.
|
บ้านบือราเป๊ะ
|
เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง
ภาษามลายูถิ่น
|
หมู่บ้านนี้เดิมเป็นที่ราบสูง
มีภูเขาติดต่อกันสองลูก ประชากรส่วใหญ่เป็นชาวมุสลิม
มาอาศัยอยู่แถบนี้จึงตั้งชื่อบือราเป๊ะ แปลว่า ภูเขาสองลูกติดต่อกัน
|
4.
|
บ้านฮูแตทูวอ
|
ฮูแตทูวอ
แปลว่าป่าแก่ (ป่าดงดิบ) เป็นภาษาท้องถิ่น
|
หมู่บ้านนี้แต่เดิมมีลักษณะพื้นที่ป่าทึบ
ไม่เจริญ จึงมีชื่อว่า ฮูแตทูวอ แปลว่าป่าแก่ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม
|
5.
|
บ้านทอน
|
ทอนเป็นชื่อคนคนหนึ่งที่ที่อยู่บ้านทอนนี้ซึ่งเป็นคนแรกที่ตั้งหมู่บ้านนี้ขึ้นมา
เพี้ยนมาจากคำว่าทอง
|
ชาวพุทธคนหนึ่งชื่อ
ทอง เป็นผู้ชายอาศัยอยู่ที่นี้ โดยมีพรรคพวกพากันมาอยู่
และตั้งนายทองเป็นผู้นำหมู่บ้านพร้อมทั้งตั้งชื่อว่าบ้านทอง
ซึ่งถือว่านายทองผู้นี้เป็นผู้บุกเบิกหมู่บ้าน ต่อมาทั้งไทยพุทธ
และมุสลิมมาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านมากมายและเพี้ยนมาเป็นบ้านทอง
|
6.
|
บ้านปาเซปูเตะ
|
แปลว่าหมู่บ้านทรายขาว
ปาเซ แปลว่ ทราย ปูเต๊ะ แปลว่าขาว
รวมสองคำแปลว่า ทรายขาว
|
แยกมาจากหมู่ที่ 5 สภาพพื้นที่เป็นทรายขาว
จึงมีชื่อว่า ปาเซปูเต๊ะ แปลว่า ทรายขาว
เป็นพื้นที่ที่มีชาวไทยมุสลิมอยู่พักอาศัยเป็นส่วนใหญ่
|
7.
|
บ้านโคกขี้เหล็ก
|
เป็นหมู่บ้านที่ต้นขี้จึหล็กตรงใจกลางหมู่บ้านชาวบ้านจึงเรียกติดปากจนถึงปัจจุบัน
|
แยกมาจากหมู่ที่ 4 ตำบลบางนาค
เป็นเวลากว่า 100 ปี มาแล้ว เดิมมีต้นขี้เหล็กมาก
ชาวบ้านจึงตั้งชื่อนี้มีพื้นที่เป็นที่ราบสูง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพุทธ
และอิสลามเท่าๆกัน
|
8.
|
บ้านทุ่งกง
|
หมู่นี้แยกมาจากโคกเคียน
ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยแยกกลุ่มเล็กๆเป็นสามกลุ่ม
|
|
9.
|
บ้านโคกป่าคา
|
โคกหมายถึงที่สูง
ป่าคาชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งจึงตั้งชื่อนี้
|
แยกมาจากหมู่ที่ 7 บ้านโคกขี้เหล็ก
ตำบลขี้เหล็ก ตำบลโคกเคียน
|
10.
|
บ้านทอนฮีเล
|
แยกมาจากหมู่ที่
5 บ้านทอน หมายถีงบ้านทอนเหนือ
|
แยกมาจากหมู่ที่
5 บ้านทอน
|
11
|
บ้านทอนอามาน
|
แยกมาจากหมู่ที่
5 บ้านทอน
|
แยกมาจากหมู่ที่
5 บ้านทอน
|
12
|
บ้านทอนนาอีม
|
แยกมาจากหมู่ที่
5 บ้านทอน
|
แยกมาจากหมู่ที่
5 บ้านทอน
|
13
|
บ้านบาโระบูตอเหนือ
|
แยกมาจากหมู่ที่
7 บ้านโคกขี้เหล็ก
|
แยกมาจากหมู่ที่
7 บ้านโคกขี้เหล็ก
|
ข้อมูลทั่วไป
ตำบลโคกเคียน
เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองนราธิวาส มีประชากรทั้งสิ้น 10443 คน
เป็นชาย 5207 เป็นหญิง 5236 คน
มีครัวเรือน จำนวน 2205 ครัวเรือน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 24170 ไร่
การปกครอง
แบ่งการปกครอง ออกเป็น 13 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่
|
ชื่อบ้าน
|
ชื่อ – สกุล
|
เป็นผู้ใหญ่บ้านตำแหน่ง
|
1.
|
บ้านโคกเคียน
|
นายประวัคิ เนาวรรัตน์
|
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
|
2.
|
บ้านโคกพะยอม
|
นายมะยา มามะ
|
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
|
3.
|
บ้านบือราเป๊ะ
|
นายมามะ หะยียูโซ๊ะ
|
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
|
4.
|
บ้านฮูแตทูวอ
|
นายอารง เงาะ
|
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
|
5.
|
บ้านทอน
|
นายสักรี ตาเยะ
|
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
|
6.
|
บ้านปาเซปูเตะ
|
นายอิสเหาะ อาแว
|
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
|
7.
|
บ้านโคกขี้เหล็ก
|
นายสุริยา อาแวหลง
|
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
|
8.
|
บ้านทุ่งกง
|
นายวิรัช เทศสี
|
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
|
9.
|
บ้านโคกป่าคา
|
นายสมจิตร ขวัญนาคม
|
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
|
10.
|
บ้านทอนฮีเล
|
นายบัณฑิต บินรอแม
|
กำนัน
|
11
|
บ้านทอนอามาน
|
นายฮูเซ็น เจ๊ะเฮ้ง
|
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
|
12
|
บ้านทอนนาอีม
|
นายอุสมัน ยูโซ๊ะ
|
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
|
13
|
บ้านบาโระบูตอเหนือ
|
นายอายุ มะแซ
|
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
|
อาณาเขต
ตำบลโคกเคียน มีอาณาเขต ติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ จดอำเภอไม้แก่น
จังหวัดปัตตานี
ทิศใต้ จดเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส
ทิศตะวันออก จดอ่าวไทย
ทิศตะวันตก จดเขตอำเภอยี่งอและอำเภอบาเจาะ
ลักษณะพื้นที่ตำบลโคกเคียน
พื่นที่ตำบลโคกเคียน
เป็นลักษณะพื้นที่ที่ราบ และมีพื้นที่ติดกับชายฝั่งอ่าวไทยตลอดแนวระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร หมู่บ้านนี้มีพื้นที่ติดกับชายฝั่งประกอบด้วย 1,2,3,4,5,6,7 ส่วนหมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9
มีพื้นที่ตืดต่อกับภูเขาและพรุบาเจาะ
ลักษณะเด่นของตำบลโคกเคียน
1.
เป็นที่ตั้งของสนามบิน ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลโคกเคียน
2.
เป็นที่ตั้งค่ายทหาร หน่วยนากโยทิน ค่ายจุฬาภรณ์
ตั้งอยู่ที่ 5,6 ตำบลโคกเคียน
3.
เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านท่องเที่ยว ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลโคกเคียน
4.
เป็นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรมของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
ตำบลโคกเคียน
5.
เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการจังหวัดนราธิวาส
ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลโคกเคียน
6.
เป็นที่ตั้งของนิคมบาเจาะ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลโคกเคียน
7.
เป็นตำบลที่มีพื้นที่ติดชายทะเลทรายขาวตลอดแนว
เหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อน
ลักษณะอาชีพของประชากร
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการประมง และเกษตรกรรม
ทำนา ทำสวน ค้าขาย อาชีพรอง ได้แก่ อาชีพรับจ้าง และอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น
การผลิตเรือกอและจำลอง การจัดทำผลิตภัณฑ์กระจูด การแปรรูปอาหารทะเล ข้าวเกรียบปลา
ปลาแห้ง เป็น รายได้เฉลี่ยของประชากร 45,000 บาท/ปี
การนับถือศาสนา
นับถือศาสนาอิสลาม
80
%
นับถือศาสนาพุทธ 20 %
การบริการสาธารณะในตำบล
ด้านการศึกษา
1. โรงเรียนประถม จำนวน 7 แห่ง
2.
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง
3. โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
4. วิทยาลัยสารพัดช่าง จำนวน 1 แห่ง
5.
หอกระจายข่าว จำนวน 5 แห่ง
6. มัสยิด จำนวน 7 แห่ง
7. วัด
สำนักสงค์ จำนวน 3 แห่ง
ด้านสาธารณสุข
1. สถานีอนามัย จำนวน 1 แห่ง
2. ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 8 แห่ง
ด้านเศรษฐกิจ
1. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 1 แห่ง
2. ศูนย์สาธิตการตลาด จำนวน 1 แห่ง
3. ร้านค้าสหกรณ์นิคม จำนวน 1 แห่ง
4. กลุ่มอาชีพ จำนวน 7 แห่ง
ด้านการรักษาความสงบ
1.
สถานีตำรวจภูธรตำบล จำนวน 1 แห่ง
2. ตำรวจชุดชุมสัมพันธ์ จำนวน 1 แห่ง
3.
ป้อมยามและที่พักสานตรวจ จำนวน 1 แห่ง
ด้านการบริหารการปกครอง
1.
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน จำนวน
1 แห่ง
2.
ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 12 แห่ง
3.
ศูนย์เยาวชนตำบล จำนวน 1 แห่ง
4.
ที่ทำการ กพสต. จำนวน 1 แห่ง
5.
สำนักงานปฏิบัติการประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง
6.
ศูนย์สงค์เคราะห์ราษฎรประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง
7.
ศูนย์ข้อมูลตำบล จำนวน 1 แห่ง
โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม
-
การมีไฟฟ้าใช้ มีไฟฟ้าทุกหมู่บ้าน ทุกครัวเรือน
-
สภาพคงทนถาวรของบ้านเรือน บ้านคงทนถาวรเกินกว่า 5 ปี
มีการรักษาความสะอาดามนโยบายโครงการนรนาสะอาดทุกครัวเรือน
-
ถนน มีถนนติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอสะดวก
มีถนนทั้งสิ้น 18
สาย แยกเป็นถนนลากยางจำนวน 5 สาย ถนนคอนกรีต
จำนวน 7 สาย ถนนดินลูกรัง จำนวน 7 สาย
-
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
-
การควบคุมสิ่งแวดล้อม
ได้รณรงค์ให้ราษฏรทุกครัวเรือนทำความสะอาด
บริเวณบ้านเรือนปลูกไม้ดอกไม้ประดับและกำจัดขยะมูลฝอย
-
รณรงค์ทำความสะอาดสิ่งสาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน ตำบล
เป็นประจำทุกเดือน
-
การเผยแพร่ข่าวสารให้ประชาชนได้รับรู้ทั่วกัน
มีหอกระจายข่าว จกำนวน 5 แห่ง มีการเผยแพร่ข่าวสารผ่านเครื่องขยายเสียงของมัสยิด 7 แห่ง
-
มีป้ายประกาศที่มัสยิดทุกมัสยิด ที่ทำการอบต.
ที่ศูนย์การเรียน
-
มีสถานีอนามัย 2 แห่ง ให้บริการด้านรักษาสุขภาพ
ด้านการเมือง
การปกครองและการบริการ
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน
ได้ยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริการส่วนตำบล เมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2540 มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล
จำนวน 27 คน แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายบริการและฝ่ายสภา ฝ่ายบริหารมรสมาชิกจำนวน 7 คน ฝ่ายสถามีสมาชิก 27 คน ฝ่ายบริหารจัดให้มีการประชุมตามปกติ เดือนละ 1 ครั้ง
ฝ่ายสภาจัดให้มีการประชุมตามสมัยประชุมปีละ 2 ครั้ง
การบริหารของอบต.โคกเคียน
ได้ใช้แผนพัฒนาตำบลประจำปี และแผนพัฒนาตำบล 5 ปี
และข้อบังคับเป็นเครื่องมือในการบริหารงานงบประมาณ โดยใช้ข้อมูล จปฐ ข้อมูล กชช. 2
และข้อมูอื่นๆที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดมาใช้ประกอบในการจัดทำแผนขององค์การบริหารส่วนตำบลและแผนพัฒนาตำบล
ในการจัดทำแผนได้ใช้งบประมาณของอบต.เอง
ขอการรับสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆและโครงการตามระบบ กนภ.
ของหน่วยงานต่างๆนำบรรจุไว้ในแผนพัฒนาตำบล เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน
ด้านเศรษฐกิจ
1.
การประกอบอาชีพของราษฏรตำบลโคกเคียนประกอบอาชีพการประมง
ทำสวน ทำนา ค้าขาย รับจ้าง และมีกลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย
กลุ่มผลิตภัณฑ์เรือกอและจำลอง กลุ่มผลิตภัณฑ์กระจูด กลุ่มปักผ้า มจักสานใบลาน
กลุ่มทำทะอาหารทะเลแปรรูป ข้าวเกรียบปลา ปลาเค็ม บูดู กลุ่มปลูกผักกลุ่มเลี้ยงโค
2.
การจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด มีศูนย์สาธิตการตลาด 1 แห่ง สมาชิก 150
คน เงินทุนหมุนเวียน 263400 บาท
ซึ่งศูนย์สาธิตแห่งนี้นับเป็นสหกรณ์ของประชาชน ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อประชาชน
มีการจัดตั้งร้านค้าสหกรณืนิคมบาเจาะ 1 แห่ง
ด้านคุณภาพชีวิต
ราษฏรตำบลโคกเคียนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของศิลปะวัฒนาธรรมที่ได้สืบกันมานานและได้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมต่างๆเหล่านี้ไว้ตลอด
คือ
1.
ประเพณีวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวไทยนับถือศาสนาอิสลาม
2.
ประเพณีมาแกปูโล๊ะ ในเทศกาลและงานต่างๆ เช่น
การเข้าสุหนัต วันรายอฮัจยี
3.
ขนบธรรมเนียมการเคารพ ชาวไทยนับถือศาสนาอิสลาม
เมื่อพบปะกันจะกล่าวคำว่า ฮัสลามูอาลัยกุม (ขอความสันติสุขจงมีแค่ท่าน)
และการตอบรับว่า อาลัยกุมมุศลาม (และสันติสุขจงมีแก่ท่านเช่นกัน)
และยื่นมือสัมผัสกัน
4.
ประเพณีวันเมาลิค
5.
ประแพณีกวนขนมอาซูรอ
6.
ประเพณีวันอิดิลฟิกรีและวันอิดิลอัฎฮา
7.
การรักษาวัฒนธรรม การจัดทำเรือกอและจำลอง
ด้านการกีฬา
-
มีการจัดให้มีการเล่นกีฬาพื้นบ้านในงานเทศกาลวันสาส์ท
เช่น การแข่งขันชักเย่อ การวิ่งวิบากิ่งกระสอบ เป็นต้น
-
มีการจัดให้แข่งขันกีฬาต้านยาเสพติดทุกหมู่บ้าน
จำนวนประชากร
ที่
|
ตำบล/หมู่บ้าน
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
บ้านโคกเคียน
|
7,455
|
7,510
|
14,965
|
|
1.
|
บ้านโคกเคียน
|
600
|
645
|
1,245
|
2.
|
บ้านโคกพะยอม
|
745
|
696
|
1,441
|
3.
|
บ้านบือราเป๊ะ
|
420
|
376
|
796
|
4.
|
บ้านฮูแตทูวอ
|
540
|
535
|
1,075
|
5.
|
บ้านทอน
|
363
|
368
|
749
|
6.
|
บ้านปาเซปูเตะ
|
628
|
566
|
1,194
|
7.
|
บ้านโคกขี้เหล็ก
|
832
|
920
|
1,752
|
8.
|
บ้านทุ่งกง
|
300
|
315
|
615
|
9.
|
บ้านโคกป่าคา
|
437
|
466
|
903
|
10.
|
บ้านทอนฮีเล
|
881
|
843
|
1,724
|
11
|
บ้านทอนอามาน
|
842
|
824
|
1,666
|
12
|
บ้านทอนนาอีม
|
358
|
331
|
689
|
13
|
บ้านบาโระบูตอเหนือ
|
509
|
607
|
1,116
|
ประชากรนับถือศาสนาพุทธ ประมาณ
30
ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ
70
จำนวนครัวเรือน
ที่
|
ตำบล/หมู่บ้าน
|
จำนวนหลัง
|
บ้านโคกเคียน
|
3,267
|
|
1.
|
บ้านโคกเคียน
|
295
|
2.
|
บ้านโคกพะยอม
|
243
|
3.
|
บ้านบือราเป๊ะ
|
185
|
4.
|
บ้านฮูแตทูวอ
|
242
|
5.
|
บ้านทอน
|
13
|
6.
|
บ้านปาเซปูเตะ
|
299
|
7.
|
บ้านโคกขี้เหล็ก
|
446
|
8.
|
บ้านทุ่งกง
|
171
|
9.
|
บ้านโคกป่าคา
|
235
|
10.
|
บ้านทอนฮีเล
|
403
|
11
|
บ้านทอนอามาน
|
176
|
12
|
บ้านทอนนาอีม
|
137
|
13
|
บ้านบาโระบูตอเหนือ
|
292
|
๑. กศน.ตำบล
/ แขวง ชื่อ กศน.ตำบลโคกเคียน สถานที่ตั้ง อบต.เก่าตำบลโคกเคียน หมู่ที
๒ บ้านโคกพะยอม ตำบล
โคกเคียน อำเภอ / เขต เมือง
จังหวัด นราธิวาส รหัสไปรษณีย์
๙๖๐๐๐
๒. มีภาคีเครือข่ายหน่วยงานใดบ้างที่มาร่วมกิจกรรม
(โปรดระบุ)
- องค์การบริหารส่วนตำบล
- สถานีอนามัยประจำตำบล
- เกษตรอำเภอ / ตำบล
- พัฒนาอำเภอ / ตำบล
- โรงเรียนสังกัด สพฐ. ในพื้นที่
- โรงเรียนสังกัด สช. ในพื้นที่
- ทหาร / ตำรวจ ในพื้นที่
๓. ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center ) ได้จัดอะไรบ้าง
- การศึกษาขั้นพื้นฐาน มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน
๙๐ คน
- การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน
๘๐ คน
-
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๕๐
คน
-
การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๒๐
คน
- การศึกษาตามอัธยาศัย มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน
๓๐๐ คน
- การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน
๕๐ คน
- กิจกรรมเยาวชนคนรักษ์ถิ่น มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน
๒๐ คน
- กิจกรรมสตรีไทยหัวใจแกร่ง มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน
๓๐ คน
- กิจกรรมผู้สูงอายุ มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน
๑๐ คน
- กิจกรรมวัดมัสยิด มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน
๑ แห่ง
- กิจกรรมภาษาพาสันติสุข มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน
๒๐ คน
๔. มีบุคลากรที่ปฏิบัติงาน กศน.ตำบล / แขวง
(โปรดระบุ)
๓.๑ หัวหน้า
กศน.ตำบล / แขวง ชื่อ นางสาวฮาซามิน
มะเก๊ะ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๙ – ๕๑๐๔๘๐๒
๓.๒
บุคลากรอื่นๆ (ระบุ)
-
ครูอาสาฯ ชื่อ นางฐิตาพร
ศักดิ์สุวรรณ เบอร์โทรศัพท์
กำนันโคกเคียงชื่ออะไร
ตอบลบ